วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

PDA คืออะไร


PDA คืออะไร

                  PDA (Personal Digital Assistant) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก, เก็บข้อมูล, เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้เหมาะสมกับความต้องการยิ่งขึ้น เช่น ดูเวลารอบโลก, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ดูหนังสือพิมพ์ออนไลน์, บันทึกรายรับรายจ่าย แม้แต่ในเรื่องของมัลติมีเดียและเอนเตอร์เทน เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, หรือ เล่นเกมส์ ก็สามารถรวมเข้าไปอยู่ในเจ้าอุปกรณ์เล็กๆนี้ได้เช่นกัน
               PDA นั้นยังแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่อง PDA นั้นๆ ซึ่งหลักๆที่เรารู้จักกันก็จะมี PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC


ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากPocket PC

1. สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารและจัดการตารางเวลาในชีวิตประจำวันของเรา อย่างเช่น การบันทึกนัดหมายหรือวันสำคัญต่างๆเป็นต้น
2. จดบันทึกข้อมูลราบชื่อของผู้ที่เราจะติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ และยังสามารถจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการค้นหารายชื่อได้อีกด้วย
3. บันทึกข้อความส่วนตัวหรือข้อความทั่วๆไปในโปรแกรมสมุดบันทึก
4. บันทึกข้อความเสียงหรือบทสนทนาเพื่อที่จะนำมาเปิดฟังในภายหลังได้ (ระบบ Voice Memo นี้จะสนับสนุนเฉพาะบางรุ่น)
5. ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้ตรงความต้องการในการใช้งานของแต่ละบุคคลได้
6. สามารถใช้งานโปรแกรม Office อย่างเช่น Microsoft Word หรือ Excel ได้ใกล้เคียงกันกับในคอมพิวเตอร์
7. สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยน, โอนถ่าย หรือจัดเก็บข้อมูลได้
8. สามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ PDA หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อแลกเปลี่ยน, โอนถ่าย หรือจัดเก็บข้อมูลได้
9. ใช้การเชื่อมโยงได้หลายลักษณะ เช่น การใช้สาย Cable และการเชื่อต่อแบบไร้สายอย่าง Infrared, Wi-Fi หรือ Bluetooth
10. สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อดูข้อมูลในเว็บไซต์หรือรับ-ส่งอีเมล์ได้อย่างง่ายดาย
11. สามารถใช้ งานร่วมกับเครื่อง GPS หรือเครื่องนำทางระบบดาวเทียมได้
12. ใช้ในลักษณะของความบันเทิงอย่างเช่น การดูหนัง, ฟังเพลง และเล่นเกมส์ได้
13. บันทึกภาพถ่ายในเหตุการณ์สำคัญๆที่เราอยากจะเก็บไว้ด้วยความสามารถของกล้องดิจิตอลที่ติดมากับตัวเครื่อง (ระบบ Digital Camera นี้จะสนับสนุนเฉพาะบางรุ่น)
14. เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมภายนอกอย่างเช่น คีย์บอร์ด, โมเด็ม, กล้องดิจิตอล และอื่นๆอีกมากมาย
15. เพิ่มเติมหน่วยความจำด้วยการ์ดหน่วยความจำภายนอกอย่างเช่น SD, MMC และ Memory Stick

ประโยชน์ของระบบการสั่งอาหารด้วย Pocket PC / PDA

ระบบการสั่งอาหารด้วย Pocket PC / PDA


เป็นระบบเสริมของโปรแกรมบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารที่ออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการทำงานหน้าร้าน เนื่องจากมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ง่ายต่อการใช้งาน สามารถรับส่งข้อมูลรายการได้อย่างรวดเร็วและมีการเชื่อมต่อสัญญาณระบบ Wi-Fi ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น

                          คุณประโยชน์ของระบบการสั่งอาหารด้วย Pocket PC / PDA

  • ·         สามารถสั่งรายการอาหารได้จาก Pocket PC / PDAโดยเชื่อมโยงไปบนฐานข้อมูลเดียวกันได้
  • ·         สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถติดต่อลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • ·         สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น ดูรายการอาหารที่สั่งไปแล้วหรือคำนวณค่าอาหาร เป็นต้น
  • ·         สามารถสั่งอาหารได้ง่ายด้วยระบบ Touch screen แบบลำดับชั้นและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการอาหารบน Desktop ก็สามารถ Generate database รายการอาหารบน Pocket PC / PDAได้ทันที
  • ·         สามารถดูสถานะโต๊ะทั้งหมดหรือแบ่งตามโซนจากเครื่อง Pocket PC / PDAได้โดยตรง ทำให้สามารถแจ้งสถานะโต๊ะที่ว่างให้ลูกค้าทราบได้อย่างรวดเร็ว
  • ·         รองรับการสั่งเมนูอาหารได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เมนูอาหารจานเดียว, อาหารเป็นชุด, อาหารที่สามารถเลือกได้, หรือกลุ่มอาหารชุด เป็นต้น
  • ·         สามารถสั่งอาหารนอกเมนูหรืออาหารที่ไม่มีในรายการเมนูได้
  • ·         สามารถส่งข้อมูลรายการอาหารที่สั่งพิมพ์ไปยังครัวได้ทันทีหรือสั่งรายการพิมพ์ซ้ำได้โดยผ่านโปรแกรม pRoMise Print Manager ซึ่งรองรับเครื่องพิมพ์ไม่จำกัดจำนวน ไม่จำกัดชนิด สามารถดูประวัติการพิมพ์ได้ตลอดเวลาและดูสถานะการพิมพ์ ณ ปัจจุบัน สามารถเตือนการพิมพ์ได้เมื่อเครื่องพิมพ์มีปัญหา
  • ·         สามารถทำงานการจัดการโต๊ะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การย้ายโต๊ะ การรวมโต๊ะ การเปลี่ยนโต๊ะ ได้โดยง่าย
  • ·         เมื่อพื้นที่บริการมีมากขึ้น โปรแกรมสามารถรองรับการเพิ่มจำนวนเครื่อง Pocket PC / PDA ได้ เพราะการทำงานเป็นแบบ Wireless Network ทำให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
  • ·         สามารถส่งข้อมูลติดต่อกันระหว่างเครื่อง Computer Desktop กับ Pocket PC / PDA ได้ตลอดเวลา เพื่อแลกเปลี่ยนการสั่งงาน เช่น การเรียกเก็บเงินลูกค้า โดย Pocket PC สามารถส่งข้อความไปบอก Front End ได้ พร้อมข้อความเตือนการส่ง
  • ·         สามารถคิดเงินหรือเรียกดูรายการอาหารที่สั่งไปแล้วจากทุกเครื่อง ทุกโต๊ะ ได้ทันทีตลอดเวลา พร้อมทั้งคำนวณส่วนลดเบื้องต้นให้แก่ลูกค้าได้
  • ·         สามารถใส่หมายเหตุ (Comment) ของรายการอาหารแต่ละรายการได้อย่างอิสระ โดยมีการตั้งค่า Comment รายการอาหารได้ เช่น ไม่หวาน, ไม่เผ็ด, ไม่ใส่ผงชูรส เพื่อความรวดเร็วในการสั่งรายการ
  • ·         มีระบบ Auto – Reconnection Wireless กับฐานข้อมูลใหม่โดยอัตโนมัติ เมื่อเครื่อง Pocket PC อยู่นอกพื้นที่ครอบคลุมของ Wireless Network ทำให้สามารถประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ โดยการปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งานและเมื่อเปิดเครื่องใหม่ โปรแกรมจะทำการ Auto – Reconnect โดยอัตโนมัติ
  • ·         สามารถแสดงสถานะ Strength Wireless Signal และระดับแบตเตอรี่บนหน้าจอตลอดเวลา เพื่อให้ความมั่นใจว่า ไม่มีความผิดพลาดจากการทำงานของเครื่อง Pocket PC /PDA
  • ·         สามารถกำหนดการเปลี่ยนการตั้งค่าของเครื่องในแต่ละร้าน (ในกรณีที่ใช้เครื่องเดียวกับหลายๆ ร้าน) ได้โดยง่าย จากการตั้งค่า โดยไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมใหม่
  • ·         สามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้ในการเข้าถึงการใช้งานโปรแกรมบนเครื่อง Pocket PC PDA

ข้อมูลองค์กร

ประวัติ MK Restaurant


อาหารสุกี้ ที่เป็นที่นิยมกันอย่างมากในหมู่คนไทยและชาว ต่างประเทศ ที่มาเที่ยวเมืองไทยจนเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง ของประเทศไทยไปแล้วนั้น มีประวัติยาวนาน หลายสิบปีมาแล้วกว่าที่ จะพัฒนามาเป็น สุกี้แบบที่ปัจจุบันนิยมทานกันอยู่
ราว ๆ 40 กว่าปีมาแล้ว (ราว ๆ พ.ศ. 2498) มีภัตตาคารจีน ชื่อ กวนอา อยู่แถว ๆ บางรัก มีรายการอาหารชุดหม้อไฟ เตาถ่าน หม้ออะลูมิเนียม ส่วนของสด ที่เสิร์ฟจะอยู่ในจานเปล ขนาดใหญ่ ก็จะมีเนื้อวัว ตับหมู วุ้นเส้น ผักต่าง ๆ ตอกไข่ใส่ ผสมรวมกันมา ดูน่าทาน น้ำจิ้มจะเป็น สไตล์เต้าฮู่ยี้ แต่รสจัด เวลาไปทานจะไปกันเป็นครอบครัว ไม่ต้องนั่งห้องแอร์สมัยนั้นคนที่ทานสุกี้แบบนี้เป็นมีไม่มากนัก ต้องเป็นขาประจำจริงๆ จึงจะทานเป็น
หลังจากยุคแรกนี้แล้ว ราว ๆ สัก 12 ปี ภัตตาคารจีนชื่อ โคคา อยู่แถว ๆ สยามสแควร์ ก็เริ่ม นำเสนออาหาร ชุดสุกี้โดย ดัดแปลง เอาเตาแก๊ส หม้อเสตนเลส มาใช้งานส่วนของสดนั้น ก็จัดออกมา เป็นชนิด ๆ แยกกันสามารถสั่ง ตามความชอบได้ โดยเพิ่มรายการพวกลูกชิ้นต่างๆ เนื้อ ปลา เนื้อกุ้ง ปลาหมึก ฯลฯ ใส่ในจานเปลขนาดเล็ก ซ้อนไปซ้อนมา ดูน่าสนุก ส่วนน้ำจิ้มได้เปลี่ยนเป็นสูตรใหม่ ซึ่งใช้ซ้อสพริก และน้ำมันหอยเป็นหลัก ร้านสุกี้ที่เกิด ใกล้ ๆ ยุคนี้มีมากมาย หลายยี้ห้อ เช่น แคนตั้น, หลาย - หลาย, เท็กซัส, ไซน่าทาวน์, โคคา ยี่ห้อเลียนแบบทั้งหลายแหล่ แต่ที่นับว่า ขึ้นชื่อลือชา ก็อยู่ในกลุ่มที่อยู่บริเวณ สยามแสควร์นั่นเอง พร้อมๆ กันสุกี้ ในยุคแรกก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมไป แต่สุกี้ในยุค เตาแก๊สนี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ สุกี้หลายรายเริ่มมีการขยายสาขาเป็นเครือข่าย 2 - 3 สาขา

ยุคแรกของ MK Restaurant
เริ่มแรกของMK นั้นเกิดที่สยามสแควร์เป็นร้านอาหารไทย คูหาเดียว ดำเนินกิจการโดยคุณป้าทองคำ เมฆโตโดยซื้อ กิจการมาจากคุณ MAKONG KING YEE(ชื่อย่อเป็น MK ) ซึ่งได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ BOSTON ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2505คุณป้าทำกิจการมาจนได้ดิบได้ดีอีกทั้งลูกค้าที่มาอุดหนุนทาน ก็ได้ดิบได้ดีไปเช่นกันจนเป็นที่รู้จักในวงการ บันเทิงมากมาย นั่นก็เป็นเพราะความ"ใจดี"ของคุณป้า นั่นเองทาน แล้วไม่มีเงินจ่าย ก็ติดไว้ก่อน ป้าก็ไม่ทวง ทั้งลูกค้าทั้งเจ้าของร้าน ๆ สนิทสนมกัน เหมือนญาติ เรียกกันพี่ป้าน้า หลานตลอด อาหารขึ้นชื่อสมัยนั้นมี หลายอย่างอาทิ ข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น แป๊ะซะปลาช่อน ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อย่างเกาหลี (เตาถ่านจริง ๆ ) ยำแซบ ๆ ทุกชนิด อีกทั้งมีเค้กแสนอร่อยขายตอนปีใหม่อีกด้วย
กิจการค้าเริ่มก้าวหน้า ไปเป็นลำดับ จาก 1 คูหา ขยายเป็น 2 คูหา จวบจนล่วงเข้าปี 2527 ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เริ่ม ผุดขึ้นหลาย ๆ แห่ง คุณป้าได้รับการชักชวนให้ไป เปิดร้านในเซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว ของนายห้างสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ และให้ชื่อร้านใหม่ว่า ร้านกรีน เอ็ม เค ซึ่งก็ยังคงเป็นร้านอาหารไทยอยู่เช่นเดิมและมี ลูกค้ากลุ่มครอบครัว และออฟฟิตเข้ามาอุดหนุนกัน อย่างคับคั่ง

ยุคที่สองของ MK Restaurant
                ใน 2 ปีถัดมาก็คุณ สัมฤทธิ์ ได้ชักชวน ให้มาเปิดร้านสุกี้MKสาขาแรก ใน ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าวนั่นเอง ซึ่งขณะนี้ลูกชายลูกสาว และลูกเขยของ คุณป้าทองคำ ก็ได้ มาช่วยบริหารงานตาม วิธีการแผนใหม่ และทำการขยายสาขาขึ้น อย่างต่อเนื่อง 14 ปีหลังจากนั้นก็สามารถขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัด ได้รวมๆกัน 153 สาขาโดยใช้ หลักการบริการที่ นำความพอใจมาสู่ลูกค้าเป็นแกนนำ การฝึกอบรมพนักงาน อย่างจริงจัง และถนอมน้ำใจ ของลูกน้องทุก ๆ คน เหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึ่ง การตั้งหน้าตั้งตาปรับปรุง ระบบงาน อยู่ตลอดเวลา (CONTINUOUS IMPROVEMENT) การเลือกตั้งร้านที่เหมาะสม ตั้งราคาอาหาร เหมาะสม กับกำลังทรัพย์ ของคนชั้นกลาง และครอบครัวและเน้นการฝึก ผู้จัดการที่มี ความสามารถ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานค้ำจุน MK ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง จวบจนทุกวันนี้
               
ยุคที่สามของ MK Restaurant
เริ่ม ราวๆปี 2539(ประมาณ 14 ปีที่แล้ว) โดยภัตตาคารเอ็ม เค เริ่มเปิดสาขาแรกที่ห้าง เซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยเปลี่ยนหม้อต้ม เป็นหม้อไฟฟ้าซึ่งจะปลอดภัยกว่าระบบใช้แก๊ส ส่วนอาหารและ น้ำจิ้มนั้น คงใช้สูตรดั้งเดิมที่เป็น ที่นิยมอยู่แล้ว แต่ดัดแปลง ให้ถูกโภชนาการมากขึ้น เช่นลดการใช้ผงชูรสลงนำการ บริหารร้านอาหารแบบมืออาชีพ เข้ามาจัดการในงานบริการ และคุณภาพอาหารการตลาด การออกแบบร้าน และ การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ภัตตาคารเอ็มเค สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว โดยเลือก สถานที่ที่สะดวกแก่ลูกค้า ทำให้มี 148 สาขาทั้งในกรุงเทพ และ ต่างจังหวัด ในขณะที่ สุกี้อื่นๆ ในเมืองไทย มีไม่เกิน 10 สาขายุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่ทำให้ คนไทยทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาส รับประทานสุกี้ จนเป็นอาหาร ประจำอย่างหนึ่ง ของคนไทย

MK Restaurant ในปัจจุบัน
เรายังพอหาทานสุกี้ยุคแรกได้ที่ร้าน กวนอา ตรงต้น ถนนสาทรเหนือฝั่งพระราม4 ส่วนสุกี้ยุคสองนั้น จะหายากหน่อยเพราะ ร้านส่วนใหญ่กลัวอันตรายจากแก๊ส หันมาใช้เตาไฟฟ้ากันหมด

ปัญหาและสาเหตุที่นำระบบสารสนเทศดังกล่าวไปใช้

ปัญหาและสาเหตุที่นำระบบสารสนเทศมาใช้
1.  การสั่งจองแบบเดิมทำให้เกิดความล่าช้าลูกค้ารอนาน
2.  เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้ล่าช้า
3.  ไม่สามารถสั่งอาหารได้ทีละหลายเมนู
4.  ไม่สามารถเลือกเมนูหรือสั่งอาหารนอกเหนือเมนูได้
5.  ไม่สามารถจัดการโต๊ะอาหารได้รวดเร็วในกรณีย้ายโต๊ะ  เปลี่ยนโต๊ะ
6.  คิดเงินลูกค้าได้ล่าช้า
7.  ไม่สามารถจองโต๊ะได้ (ในกรณีที่โทรศัพท์ไม่ติด)
8.  ไม่สามารถใส่หมายเหตุรายการอาหารได้อย่างอสระ เช่น ลูกค้าแพ้อาหารทะเล
9.  การสั่งอาหารแบบเดิมไม่สามารถส่งข้อมูลติดต่อกันระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์เดสทอป
10. ไม่สามารถส่งข้อมูลรายการอาหารไปยังครัวทันทีได้

ผลที่ได้รับจากการใช้ระบบสารสนเทศ

        
ผลที่ได้รับจากการใช้ระบบสารสนเทศ
*
  ลดเวลาและความผิดพลาดในการจดออร์เดอร์ด้วยกระดาษและต้องนำไปป้อนที่แคชเชียร์อีกครั้ง
     ทำให้เสริฟอาหารได้รวดเร็วขึ้น
*       เพิ่มกำลังการให้บริการได้มากขึ้น  จากการหมุนเวียนของลูกค้าได้เร็ว  ทำให้ไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ในร้าน
*     ลดค่าใช้จ่าย  และจำนวนของพนักงานจดออร์เดอร์
*     ลดค่าใช้จ่าย  และจำนวนของพนักงานที่ต้องการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของบิลอีกครั้ง
*     พนักงานแคชเชียร์มีเวลาเพิ่มมากขึ้น  สามารถออกไปช่วยบริการลูกค้าที่หน้าร้าน  หรือตามโต๊ะได้
*     ลดความวุ่นวายจากการเดินไปเดินมาของพนักงานในร้าน  ทำให้บรรยากาศในร้านดีขึ้น
*     การใช้ EJ (Electronic  Journal  เป็นทางเลือก)  ด้วยปริ๊นเตอร์  Thermal  จะช่วยให้ร้านเงียบขึ้น   
และการบำรุงรักษาต่ำ
*  สามารถส่งข้อมูลรายการอาหารที่ลูกค้าสั่งส่งไปยังห้องครัวได้ทันที